วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การนอนหลับสนิท ช่วยลดความอ้วน

การนอนหลับสนิท ช่วยลดความอ้วน
รู้ไหมค่ะว่าการนอนวันละ 7ชั่วโมงครึ่ง ถึง 8ชั่วโมงเนี้ย มีผลต่อการลดความอ้วนด้วยนะค่ะ ไม่ได้ล้อเล่นนะค่ะ เพราะมีผลวิจัยมาแล้วค่ะ
เพราะการที่คุณนอนก่อน สามทุ่ม แล้วตื่น ประมาณตีห้าครึ่ง ระบบในร่างกายจะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพในตอนเช้าค่ะ แต่ถ้าคุณนอนตีสาม ตีสี่ ทุกวันเนี้ย นอกจากคุณจะหิวอาหารตลอดแล้วยังจะทำให้ร่างกายคุณสร้างกลูโคส มากขึ้นด้วยนะค่ะ แล้วถ้าคุณทานอาหารเข้าไปในเวลานี้แล้วเนี้ย การย่อยก็จะไม่ดีเท่าทีควรเพราะระบบย่อยของคุณหมดเวลาทำงานแล้ว และร่างกายจะสะสมแป้งเป็นน้ำตาลได้เร็วกว่าด้วย
ส่วนคนที่นอนหลับสนิทนั้นพบว่ามีการกินอาหารอิ่มเร็วกว่าคนที่นอนไม่หลับ และมีความอยากบุหรี่น้อยกว่าอีกด้วย และยังพอว่าในคนกลุ่มนี้มีการทำงานของระบบเผาผลาญดีกว่าคนนอนไม่หลับค่อนข้างมากด้วย
เห็นไหมค่ะการนอนนั้นนอกจากจะตื่นมาสดชื่นแล้ว ยังช่วยลดความอ้วนได้ด้วยนะค่ะ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลับไม่สนิทบ่อยๆเสี่ยงเป็นเบาหวาน

หลับไม่สนิทบ่อยๆเสี่ยงเป็นเบาหวาน
ระบุนอนพอแต่หลับไม่สนิทส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
สำนักข่าวบีบีซีรายงานวานนี้ว่าผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาชิ้นล่าสุดแสดงให้เห็นถึงผลของคุณภาพในการนอนหลับต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ระบุว่าคนที่นอนหลับไม่สนิทดีหรือหลับไม่ลึกมักมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานที่สูงกว่าปกติ
โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองโดยจำลองการหลับไม่สนิทด้วยการทำให้อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยได้รับการกระตุ้นเมื่อพวกเขากำลังจะเข้าสู่ภาวะหลับลึกหรือหลับสนิทและผลการทดลองที่ได้พบว่าเมื่อหลับไม่สนิทแล้วร่างกายของอาสาสมัครจะเกิดการต่อต้านสารอินซูลิน
ความผิดปกติที่นักวิจัยพบนี้มีผลทำให้ร่างกายเกิดไม่รู้จักสัญญาณของสารอินซูลินขึ้นมาและนำไปสู่การมีระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและในที่สุดก็กลายไปเป็นโรคเบาหวานชนิด 2 โดยผลการวิจัยที่ค้นพบล่าสุดนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ The Proceedings of the National Academy of Science.
ก่อนหน้านี้มีการวิจัยหลายอันที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างโรคเบาหวานและการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทั้งยังเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการนอนหลับลึกหรือหลับสนิท หรือที่เรียกกันว่าการหลับแบบคลื่นต่ำ (slow-wave sleep)นั้นมีผลเกี่ยวข้องกันกับกระบวนการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย
และสำหรับในการวิจัยล่าสุดนี้นักวิจัยได้ทดสอบผลกระทบของคุณภาพการนอนหลับต่อการควบคุมกลูโคสในเลือดด้วยการให้อาสาสมัครชายหญิงที่มีร่างกายแข็งแรงดีมานอนเพื่อให้นักวิจัยสังเกตดูว่ารูปแบบการนอนปกติของคนเหล่านี้เป็นอย่างไรเป็นเวลาติดต่อกัน 2 คืน
และหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 คืนติดกันนักวิจัยได้ให้ทีมงานรบกวนอาสาสมัครร่วมวิจัยการนอนหลับด้วยการก่อเสียงดังในช่วงที่อาสาสมัครกำลังเริ่มต้นเข้าสู่การนอนหลับลึกซึ่งสามารถสังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของคลื่นสมองที่เริ่มมีลักษณะยาวขึ้นและเคลื่อนไหวในแนวต่ำลง
ทั้งนี้นักวิจัยระบุว่าการรบกวนการนอนของอาสาสมัครนี้จะไม่กระทบต่อปริมาณการนอนของพวกเขา กล่าวคือปริมาณการนอนโดยรวมแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบการนอนปกติของอาสาสมัครเหล่านี้เลย
และเมื่อนักวิจัยทดสอบต่อไปด้วยการฉีดกลูโคสให้อาสาสมัครและตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และการตอนสนองของสารอินซูลินในเวลากลางวันแล้วพบว่าอาสาสมัครจำนวน 8 คนมีอาการที่ร่างกายรู้สึกช้าต่ออินซูลิน
ดร.เออร์ซ่า ทาซาลิ จากมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก กล่าวว่าปัจจุบันพบว่าอัตราการเป็นโรคเบาชนิด 2 ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในที่จะต้องทราบปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ โดยเบาหวานชนิด 2 นี้โดยปกติแล้วเป็นโรคที่มักพบในประชากรที่มีอายุและ คนที่เป็นโรคอ้วน

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การนอนหลับที่ดี

การนอนหลับที่ดี
สมองและร่างกายใช้เวลาช่วงนอนหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพชีวิต ที่ดีของเรา หากท่านสังเกตดูคนที่นอนไม่เพียงพอ หรืออดนอนนานๆ ประสิทธิภาพต่างๆ ในการทำงานจะลดลงเนื่องจากสมองล้า ร่างกาย อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ นอกจากนี้ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมี ความวิตกกังวลตึงเครียดง่าย โดยเฉพาะอย่างช่วงเวลาจะเข้านอน เตียงนอนอาจเป็น ที่ไม่สบอารมณ์ได้ง่าย เมื่อถึงเวลานอนเวลานอนกลายเป็นที่ๆ ทำให้วิตก กังวลเมื่อนึกถึงว่า คืนนี้จะหลับได้หรือไม่ หรือคืนนี้คงไม่หลับ อีกตามเคยอย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและอาการวิตกกังวล ตึงเครียด เหล่านี้สามารถลดลงหรือหายไปได้ หากมีการปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene) และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง
1. การเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชิน อยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลา และหากในคืนที่ถัดมาท่านนอนดึกกว่าปกติ ท่านควรตื่นสายหน่อยหรือตรงเวลาเดิมดี คำตอบที่ถูกคือ พยายามตื่นตรง เวลา แม้ท่านจะง่วงในระหว่างวันบ้าง แต่ตกดึกท่านจะหลับได้อย่างรวดเร็ว ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น เปิดหน้าต่างสัมผัสแสงสว่างช่วงเช้าๆ (6-7 นาฬิกา) กายบริหารหลังตื่นเบาๆ สัก 10-15 นาที ก่อนทำกิจกรรม อื่นต่อไป จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ดีกว่า
2.หลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน เพราะจะรบกวนการนอนที่ต่อเนื่อง ในตอนกลางคืนได้ สำหรับท่านที่ง่วงจนทนไม่ไหวอาจงีบช่วงกลางวันสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที กายบริหาร หรือออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แต่ไม่ควรปฏิบัติค่ำเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้ อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วงเย็นถึงก่อนนอน ไม่ควรดื่ม คาเฟอีน เกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มกาเฟอีนช่วงบ่ายลงๆ ถึงเวลานอน อย่าสูบ บุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก
3.อย่านอนเล่นนานๆ บนเตียงไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือทำงานอื่นๆ การปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ใช่การนอนหลับบนเตียง จะเร้า ความรู้สึกตื่นในขณะที่เราอยากหลับได้
4.ปรับอุณหภูมิที่พอดีในขณะหลับ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องนอน ที่เงียบและมืด จะช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ดี อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภท เนื้อ หรือ โปรตีนมากๆ และหากทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นเพียงนมหรือ อาหารประเภทมอลล์สกัด น้ำผลไม้ก็เพียงพอแล้ว การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพผ่อนคลาย ดังนั้นขณะเข้านอนหากร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดไม่ผ่อนคลาย จะไม่สามารถหลับลงอย่างง่ายดาย จึงควรจัดช่วงเวลาสำหรับผ่อนคลายอารมณ์เป็นกิจวัตรประจำวัน ช่วง 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยง การทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหากท่าน เป็นคนตึงเครียดง่าย หรือมีเรื่องที่ต้องขบคิดจำนวนมากตลอดวัน แนะนำ ให้ปฏิบัติดังนี้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องต่างๆ ที่ทำให้ คิด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า และวางแผนจัดการ แต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ สั้นๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเคยชิน
5.หากท่านเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับ ให้ลุกจากเตียง หาอะไร ทำเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เปิดเฉพาะแสงไฟอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว (เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ตื่น) กลับมาที่เตียง เมื่อง่วงเท่านั้น อย่านอนแช่ อยู่บนเตียงโดยไม่หลับถึงเช้า เพราะจะกระตุ้น ให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อเข้า นอนในคืนถัดๆ มาหากไม่ง่วงเลย อาจใช้ยา ช่วยให้หลับเป็นครั้งคราวได้
6.การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนที่ถูกต้อง และการขจัดพฤติกรรม ที่รบกวนการนอน ฝึกให้มีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ควรปฏิบัติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ง่ายขึ้น
7.ในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับควรปฏิบัติ สุขอนามัยการ นอนหลับ และปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่แรก จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา นอนไม่หลับ เรื้อรังได้
8.ในผู้ที่ใช้ยาช่วยให้หลับต่อเนื่องมานานกว่า 3-6 เดือน หากหยุดยา ทันทีอาจเกิดอาหารนอนไม่หลับใหม่ จำเป็นต้องค่อยๆ ลดยาลงเรื่อยๆ ร่วมกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จนสามารถ หยุดยาลงได้ในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เทคนิค แต่งบ้าน



เทคนิคน่ารู้ที่ช่วยให้บ้านคุณหอมสดชื่น

บ้านแต่ละบ้านนั้นคงจะมีสเปรย์ดับกลิ่นติดประจำบ้านอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ แต่เราจะขอแนะนำวิธีที่ทำให้บ้านของคุณนั้นหอมสดชื่นแบบธรรมชาติกันค่ะ

วิธีก็คือ ให้คุณเอาส้มเช้งมาปักไว้ด้วยกานพลูหลายๆดอกแล้วทิ้งไว้ตามจุดต่างๆของบ้านถ้าจะให้สวยก็ใช่ไว้ในแก้วสวยๆก็จะกลายเป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วยค่ะ

คราวนี้บ้านของคุณก็จะหอมแบบธรรมชาติแล้วล่ะค่ะ แต่ระวัง อย่าทิ้งเปลือกส้มเช้งจนมีกลิ่นเน่านะค่ะไม่งั้นจากที่จะได้กลิ่นสดชื่นก็จะกลายเป็นได้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์แทนนะค่ะ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การนอนอย่างมีความสุข


การนอนอย่างมีความสุข
การจะนอนหลับอย่างมีสุขได้นั้น จะต้องมีบรรยากาศแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมบรรยากาศแวดล้อมที่ดีและเหมาะสม ได้แก่
1.มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ ไม่เจ็บป่วย
2.รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และไม่ดื่มน้ำชา กาแฟ ก่อนนอน
3.ห้องนอนมีอากาศเย็นสบาย ปราศจากฝุ่นละออง มีอุณหภูมิที่เหมาะสมและไม่มีแสงจ้า และถ้ามีบรรยากาศเสริมสร้างเพิ่มเติม เช่นมีเสียงเพลงที่ชื่นชอบเบา ๆ หรือมีกลิ่นหอมของดอกไม้โชยมาอ่อน ๆ เช่น ดอกบัว ดอกว่านมหาหงส์ ดอกมะลิวัลย์ ซี่งจะหอมในเวลาเย็นและกลางคืน
4.ออกกำลังกายและนั่งสมาธิเป็นประจำ
5.จิตใจเป็นปกติ ไม่เครียด หรือวิตกกังวล
6.การนอนที่ดีต้องให้ศีรษะเย็นและเท้าอุ่น (ถ้าศีรษะอุ่น ก็มักจะไม่สบาย หมอนหนุนศีรษะก็ควรหาหมอนที่ให้ความเย็นถ้าหาได้ เช่น หมอนหยก หรือหมอนเปลือกถั่วงอก หรือหมอนตาตามิ ที่ทำจากหญ้าอีกูซะของญี่ปุ่น หรือหมอนที่ทำจากต้นกกภาคอีสานของไทย มาหนุนจะดีกว่าหมอนฟองน้ำทั่วไปซึ่งจะร้อนอบ ถ้าเท้าเย็นก็มักจะไม่สบายเช่นกัน ควรหาถุงเท้ามาสวมใส่เวลานอนก็ดีเหมือนกัน)


การสร้างบรรยากาศแวดล้อมที่ดีเหมาะสม ตามที่กล่าวถึงนี้ หากยังขาดอยู่ ก็ควรรีบสร้างเสริมเสียโดยเร็ว และคงลงทุนไม่มากมายนักบางท่านอาจเครียดกับงานหนักมาตลอดวัน ไม่สามารถผ่อนคลายได้เวลานอนก็มักจะนอนไม่หลับหรือหลับได้ก็ดึกมาก หรือต้องพึ่งยานอนหลับซึ่งก็ไม่เป็นการดี การเข้านอนปกติก็ควรเข้านอนไม่ดึกเกินไปการนอนหลับก็ควรจะได้นอนหลับอย่างเต็มที่ ประมาณ 7 – 8 ชั่วโมง และตื่นขึ้นด้วยความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นอนท่าไหนดี

นอนท่าไหนดี
ไม่ว่าจะนอนคว่ำ นอนหงาย หรือตะแคง ล้วนมีผลต่อสุขภาพต่างกันไปแพทย์ที่แนะนำให้แต่ละคนนอนในท่าที่ดีต่อสุขภาพด้วย ไม่ว่าจะนอนท่าไหนท่า "ตะแคงขวา" ถือเป็นท่าที่ดีต่อสุขภาพที่สุดเพราะเป็นท่านอนที่ทำให้หัวใจเต้นได้สะดวกและทำให้อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดีไม่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไปแถมยังเป็นท่านอนที่บรรเทาอาการปวดหลังได้อีกด้วยและช่วยลดเสียงกรนได้ โดยเฉพาะผู้ที่นอนกรนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ลิ้นไก่ยาว โคนลิ้นหนา หรือ โพรงจมูกอุดตันท่านอน "ตะแคงขวา"นี้จะช่วยได้จ๊ะ

ความรู้เพื่อการนอนหลับที่ดี


ความรู้เพื่อการนอนหลับที่ดี

1. สมองและร่างกายใช้เวลาช่วงนอนหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพชีวิต ที่ดีของเรา หากท่านสังเกตดูคนที่นอนไม่เพียงพอ หรืออดนอนนานๆ ประสิทธิภาพต่างๆ ในการทำงานจะลดลงเนื่องจากสมองล้า ร่างกาย อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ นอกจากนี้ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมี ความวิตกกังวลตึงเครียดง่าย โดยเฉพาะอย่างช่วงเวลาจะเข้านอน เตียงนอนอาจเป็น ที่ไม่สบอารมณ์ได้ง่าย เมื่อถึงเวลานอนเวลานอนกลายเป็นที่ๆ ทำให้วิตก กังวลเมื่อนึกถึงว่า คืนนี้จะหลับได้หรือไม่ หรือคืนนี้คงไม่หลับ อีกตามเคยอย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและอาการวิตกกังวล ตึงเครียด เหล่านี้สามารถลดลงหรือหายไปได้ หากมีการปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene) และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง

2. การเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชิน อยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลา และหากในคืนที่ถัดมาท่านนอนดึกกว่าปกติ ท่านควรตื่นสายหน่อยหรือตรงเวลาเดิมดี คำตอบที่ถูกคือ พยายามตื่นตรง เวลา แม้ท่านจะง่วงในระหว่างวันบ้าง แต่ตกดึกท่านจะหลับได้อย่างรวดเร็ว ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น เปิดหน้าต่างสัมผัสแสงสว่างช่วงเช้าๆ (6-7 นาฬิกา) กายบริหารหลังตื่นเบาๆ สัก 10-15 นาที ก่อนทำกิจกรรม อื่นต่อไป จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ดีกว่า

3. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน เพราะจะรบกวนการนอนที่ต่อเนื่อง ในตอนกลางคืนได้ สำหรับท่านที่ง่วงจนทนไม่ไหวอาจงีบช่วงกลางวันสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที กายบริหาร หรือออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แต่ไม่ควรปฏิบัติค่ำเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้ อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วงเย็นถึงก่อนนอน ไม่ควรดื่ม คาเฟอีน เกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มกาเฟอีนช่วงบ่ายลงๆ ถึงเวลานอน อย่าสูบ บุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก

4. อย่านอนเล่นนานๆ บนเตียงไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือทำงานอื่นๆ การปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ใช่การนอนหลับบนเตียง จะเร้า ความรู้สึกตื่นในขณะที่เราอยากหลับได้

5. ปรับอุณหภูมิที่พอดีในขณะหลับ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องนอน ที่เงียบและมืด จะช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ดี อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภท เนื้อ หรือ โปรตีนมากๆ และหากทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นเพียงนมหรือ อาหารประเภทมอลล์สกัด น้ำผลไม้ก็เพียงพอแล้ว การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพผ่อนคลาย ดังนั้นขณะเข้านอนหากร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดไม่ผ่อนคลาย จะไม่สามารถหลับลงอย่างง่ายดาย จึงควรจัดช่วงเวลาสำหรับผ่อนคลายอารมณ์เป็นกิจวัตรประจำวัน ช่วง 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยง การทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหากท่าน เป็นคนตึงเครียดง่าย หรือมีเรื่องที่ต้องขบคิดจำนวนมากตลอดวัน แนะนำ ให้ปฏิบัติดังนี้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องต่างๆ ที่ทำให้ คิด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า และวางแผนจัดการ แต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ สั้นๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเคยชิน

6. และหากท่านเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับ ให้ลุกจากเตียง หาอะไร ทำเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เปิดเฉพาะแสงไฟอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว (เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ตื่น) กลับมาที่เตียง เมื่อง่วงเท่านั้น อย่านอนแช่ อยู่บนเตียงโดยไม่หลับถึงเช้า เพราะจะกระตุ้น ให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อเข้า นอนในคืนถัดๆ มาหากไม่ง่วงเลย อาจใช้ยา ช่วยให้หลับเป็นครั้งคราวได้

7. การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนที่ถูกต้อง และการขจัดพฤติกรรม ที่รบกวนการนอน ฝึกให้มีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ควรปฏิบัติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ง่ายขึ้น

8. ในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับควรปฏิบัติ สุขอนามัยการ นอนหลับ และปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่แรก จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา นอนไม่หลับ เรื้อรังได้

9. ในผู้ที่ใช้ยาช่วยให้หลับต่อเนื่องมานานกว่า 3-6 เดือน หากหยุดยา ทันทีอาจเกิดอาหารนอนไม่หลับใหม่ จำเป็นต้องค่อยๆ ลดยาลงเรื่อยๆ ร่วมกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จนสามารถ หยุดยาลงได้ในที่สุด